นิเทศศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)

ประวัติหลักสูตรนิเทศศาสตร์
ในอดีตครั้งยังเป็นวิทยาลัยครูสงขลานั้น ได้พัฒนาการศึกษาภาคพิเศษขึ้นมาหลักสูตรหนึ่งชื่อว่า เทคนิคการอาชีพ ซึ่งเป็น หลักสูตรระดับอนุปริญญา เน้นการสื่อสาร การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ต่อมาเมื่อมีผู้สนใจเข้าเรียนในสาขาดังกล่าวมากขึ้น จึงได้มีการปรับหลักสูตรและขยายการจัดการเรียนการสอนให้มีขอบข่ายเนื้อหาวิชากว้างขึ้นเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ระดับอนุปริญญา โปรแกรมวิชาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งที่เป็นบุคคลภายนอกและเป็นอาจารย์จากคณะวิชาต่าง ๆ มาสอน หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2531 วิทยาลัยได้จัดให้มีการปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานให้มีลักษณะเป็นภาควิชา จึงได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ และยังคงเปิดสอนในระดับอนุปริญญา ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสถาบันราชภัฏแทนวิทยาลัยครู จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฎสงขลา และขณะเดียวกันได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ ในภาควิชาสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ เป็นรุ่นแรก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547 สถาบันราชภัฏสงขลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และในปี พ.ศ.2549 จึงได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551 ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตขึ้น ใน 4 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาวารสารศาสตร์ แขนงวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ แขนงวิชาการสื่อสารการตลาด และแขนงวิชาการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรีนิเทศศาสตรบัณฑิตในปีการศึกษา 2552 ทั้งในภาคปกติ และภาคการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ปัจจุบันโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ยังคงได้รับความนิยมจากนักเรียนในจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้พยายามพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ทั้งในด้านการเรียนการสอน ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชา จนเป็นที่ยอมรับมาจวบจนปัจจุบัน

ปรัชญาของหลักสูตร
รอบรู้ บูรณาการ สื่อสารสร้างสรรค์ ก้าวทันดิจิทัลเทคโนโลยีมีจริยธรรม นำความรู้ สู่การพัฒนาท้องถิ่น

ความสำคัญของหลักสูตร
นิเทศศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันทั้งในระดับ บุคคล องค์กร ชุมชน ประเทศและสังคมโลก ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ในขณะที่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง ก้าวกระโดด ส่งผลให้อุตสาหกรรมสื่อต้องปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มหรือรูปแบบการสื่อสาร ดังนั้น การพัฒนาและผลิตบัณฑิตด้านนิเทศศาสตร์จึงต้องมุ่งเน้นทักษะทางวิชาการและวิชาชีพในระดับ ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างรอบด้าน รู้จัก พัฒนาตนเองให้ก้าวทันเทคโนโลยี การสื่อสาร และกรอบการเรียนรู้อื่น ๆ ในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม กอร์ปกับในยุคปัจจุบัน หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และระดับประเทศต่างต้องการบุคลากรในหน่วยงาน หรือผู้ประกอบการด้านนิเทศศาสตร์ ที่มีความสามารถด้านการสื่อสาร มีความรู้และทักษะในเชิงวิชาชีพอย่างรอบด้าน และทำหน้าที่ได้ หลากหลายในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการสร้างความรอบรู้ทางนิเทศศาสตร์ให้แก่บัณฑิต จึงเป็นการ ขยายโอกาสทางวิชาชีพ ซึ่งเท่ากับเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารให้สามารถสนับสนุน การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจดิจิทัลของท้องถิ่น ชุมชน สังคมและประเทศให้ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) มีความรู้ ทักษะ ในศาสตร์และศิลป์ด้านวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์และก้าวทันเทคโนโลยี การสื่อสาร ตลอดจนสามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการสื่อสารผ่านเวทีทางวิชาชีพ และนำไป ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รู้รอบ ทันต่อเหตุการณ์ มีวิจารณญาณในการตัดสินใจแก้ปัญหา และปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้เป็นอย่างดี 3) มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพนิเทศศาสตร์และมี จิตสำนึกในการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
...

อาจารย์ศิริวรรณ ลักษณะวงศ์
ตำแหน่ง: ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

...

ดร.วนภรณ์ จักรมานนท์
ตำแหน่ง: กรรมการและเลขานุการ

...

ดร.จุฬารัตน์ จุลภักดิ์
ตำแหน่ง: กรรมการบริหารหลักสูตร

...

ดร.ศราณี เวศยาสิรินทร์
ตำแหน่ง: กรรมการบริหารหลักสูตร

...

ดร.ศุภฤกษ์ เวศยาสิรินทร์
ตำแหน่ง: กรรมการบริหารหลักสูตร

อาจารย์ผู้สอน
...

ดร.ปัฐยา เรืองเริงกุลฤทธิ์
ตำแหน่ง: อาจารย์ผู้สอน

...

ว่าที่ร้อยตรีฐานันดร ไพโรจน์
ตำแหน่ง: อาจารย์ผู้สอน

ชื่อปริญญาภาษาไทย    : นิเทศศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)


ชื่อย่อปริญญาภาษาไทย  : นศ.บ. (นิเทศศาสตร์)


ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ  : Bachelor of Communication Arts (Communication Arts)


ชื่อย่อปริญญาภาษาอังกฤษ : B.Com.Arts (Communication Arts)



ติดต่อเรา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
160 หมู่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
โทรศัพท์ 0-7426-0268 โทรสาร 0-7426-0269
Email : mgt@skru.ac.th