บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
ประวัติความเป็นมาของหลักสูตรบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ เป็นส่วนหนึ่งของคณะวิทยาการจัดการ ซึ่งเดิม คณะวิทยาการจัดการ พัฒนามาจากโปรแกรมสหกรณ์ ซึ่งสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 และได้แยกตัวมาเป็นคณะวิทยาการจัดการโดยได้เปิดสอนวิชาการสหกรณ์ และวิชาการ จัดการทั่วไป ซึ่งภายหลังได้ปรับเปลี่ยนวิชาการสหกรณ์เป็นเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ การบริหารคณะวิทยาการจัดการ ปีพ.ศ. 2528-2529 เป็นรูปแบบภาควิชา มี 5 ภาควิชา ดังนี้
1. ภาควิชาการเงินและบัญชี
2. ภาควิชาการตลาด
3. ภาควิชาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
4. ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์
5. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
เปิดสอนด้านการจัดการทั่วไป และเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ หลักสูตรวิชาศิลปศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี ( หลังอนุปริญญา) และ ระดับอนุปริญญา ต่อมาในปีพ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มีการปรับรูปแบบการบริหารในสถาบันราชภัฏเป็นโปรแกรมวิชา คณะวิทยาการจัดการมีโปรแกรมวิชาที่ดูแลดังนี้
1. โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ระดับอนุปริญญา
2. โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี(หลังอนุปริญญา)
3. โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี(หลังอนุปริญญา)
4. โปรแกรมวิชาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ระดับอนุปริญญา
5. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
6. โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างนักการจัดการ เพื่อการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นสู่สากล โดยเน้นการบูรณาการอย่างสร้างสรรค์และมี คุณธรรม
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ดำเนินการการเรียนการสอน และผลิตบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ให้เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ มีความรู้ มีทักษะทางวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความ รับผิดชอบทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานให้เป็นที่ยอมรับขององค์การธุรกิจ จาก การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีไปสู่การดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และในภาคธุรกิจของไทยยังคงมี ความสามารถในการแข่งขันทางด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการพัฒนาการบริหาร จัดการ แต่ยังมีปัญหาทางด้านบุคลากรที่ยังขาดความรู้และทักษะเฉพาะด้านที่ตรงความ ต้องการของ อุตสาหกรรม เช่น ความรู้ด้านภาษา ด้านเทคโนโลยี และความรู้ในการดำเนินธุรกิจต่างประเทศ เป็นต้น ทำให้กรรมการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยี ตลอดจน ความรู้ด้านธุรกิจต่างประเทศ และพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้กับนักศึกษาเพื่อเป็นแรงงานที่ มีคุณภาพมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.3.1 มีความรู้ด้านการจัดการธุรกิจ สามารถนำไปประยุกต์และบูรณาการในการประกอบอาชีพ รวมทั้งเป็นผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี
1.3.2 มีทักษะด้านการสื่อสารและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับการประกอบธุรกิจ
1.3.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ มีความใฝ่รู้ มีวิจารณญาณในการตัดสินใจแก้ปัญหา และปรับตัวให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้
1.3.4 มีคุณธรรม จริยธรรม มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคม
1.3.5 มีความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
อาจารย์ปราการ หังสวนัส
ตำแหน่ง: ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีรา เดชนครินทร์
ตำแหน่ง: กรรมการและเลขานุการ
อาจารย์พีรวัส หนูเกตุ
ตำแหน่ง: กรรมการบริหารหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ธรรมสัจการ
ตำแหน่ง: กรรมการบริหารหลักสูตร
ดร.วชิราภรณ์ ขุนจันทร์
ตำแหน่ง: กรรมการบริหารหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันติมา จันทร์เอียด
ตำแหน่ง: อาจารย์ผู้สอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทริยา สังข์น้อย
ตำแหน่ง: อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์อัคญาณ อารยะญาณ
ตำแหน่ง: อาจารย์ผู้สอน
ดร.หทัยขวัญ จันทอง
ตำแหน่ง: อาจารย์ผู้สอน
ชื่อปริญญาภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
ชื่อย่อปริญญาภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (Management)
ชื่อย่อปริญญาภาษาอังกฤษ : B.B.A. (Management)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
160 หมู่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
โทรศัพท์ 0-7426-0268 โทรสาร 0-7426-0269
Email : mgt@skru.ac.th